ประเพณ๊ดำหัวปีใหม่

ประเพณีตานข้าวใหม่

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณียี่เป็ง

ประเพณีปอยหลวง

 

ประเพณีดำหัวปี๋ใหม

 

 

 

การดำหัวของชาวล้านนาหมายถึง การสระผม ส่วนทางด้านพิธีกรรมหมายถึงการชำระสิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็น
อัปมงคลให้หมด ไปด้วยการใช้น้ำส้ม ป่อยเป็นเครื่องชำระชาวล้านนา นิยมจัดพิธีกรรมการดำหัวขึ้นใน
เทศกาลสงกรานต์โดยเริ่มตั้งแต่วันที15เมษายนคือวันพญาวันไปจนสิ้นสุดเดือนเมษายนการดำหัวใน
เทศกาลสงกรานต์มี 3 กรณี คือการดำหัว ตนเอง การดำหัวผู้น้อย และการดำหัวผู้ใหญ่ ซึ่งการดำหัวนี้
ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ ผู้เป็นปูชนียบุคคลซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวล้านนาได้ให้
รายละเอียดเกี่ยวกับการดำหัวสมัยโบราณให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีล้านนาดัง
นี้  “สำหรับการดำหัวนั้น นิยมเอาน้ำใส่ขัน คือ ใส่สลุงเอาน้ำขมิ้น ส้มป่อย ใส ่เวลาดำหัว เขาจะเอาไป
ประเคนคือเอาไปมอบให้ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ ที่เราจะไปดำหัว นั้น เขาจะเอามือจุ่มลงในสะหลุง ที่มีน้ำขมิ้น
ส้มป่อยอยู่แล้วก็เอามาลูบหัวตัวเอง 3ครั้งจากนั้นก็เอามือจุ่มน้ำส้มป่อย สลัดเข้าใส่ลูกหลานที่มาดำหัว
พร้อมกับอวยพรให้อยู่ดีมีสุข ให้อยู่ดีกินดีเราไม่นิยมเอาน้ำรดมืออย่าง ของภาคอื่นซึ่งถือว่าการทำอย่าง
นั้นเป็นการรดศพ มากกว่าการรดน้ำผู้เฒ่า ผู้แก่ ล้านนาเราถือกันมาอย่างนี้ เวลาไปดำหัวให้เอาสะหลุง
เอาไปประเคนพร้อมกับของกินของใช้ที่เราจะ นำไปมอบให้ เรามา พูดถึง การว่าการดำหัวดีอย่างไรการ
ดำหัวมี 2 แบบแบบหนึ่งก็ คือ การสระผม คนโบราณบ้านเราเรียกว่า ดำหัวมักจะ เอาใบหมี่เอามะกรูดมา
ต้มแล้วก ็เอามา สระผม มันจะหอม ไล่ขี้รังแค ออกหมด ใบหม ี่นี้หอม เป็นสมุน ไพรโบราณ การสระผม
ของคนโบราณเรียกว่าดำหัวเมื่อดำหัวไล่สิ่งที่โสโครกท ั้งหลายออก ไปจากผมจากตัวก็จะเช็ดผม ด้วย
น้ำมันตานี หรือน้ำมันละหุ่ง อบ ด้วยดอก สะบันงา (ดอกกระดังงา)หรือ กระถิน กระแจะจันหอม เป็นสูตร
ของคนโบราณ การดำหัวอีกแบบหนึ่ง นั้นก็ คือ การให้เอาน้ำส้มป่อย ไปคารวะ ท่านผู้เฒ่า ผู้แก่โดยทำ
เป็น 2 แบบแบบหนึ่ง ดำหัวเพื่อ ขอบคุณ เช่น ว่าหมอเขามาเยียวยาเราเยียวยาพ่อแม่เรา สมัยนั้นไม่ได้
จ้างกันด้วยเงินแต่พอรักษาเสร็จแล้วพ่อแม่หายคนป่วยหาย ก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อย ข้าวของอะไร ที่หา
ได้ไปขอบพระคุณท่านการไปขอบพระคุณท่านแบบนี้เรียกว่าการดำหัว เอาน้ำขมิ้น ส้มป่อยไปให้ท่าน
สระผมสระหัวพร้อมกับคำขอบคุณ เป็นวิธีหนึ่งเรียกว่าดำหัวพ่อเลี้ยงหมอยาต่อมาการดำหัวอีกแบบนั้น
มีเทศกาลสำคัญเช่นปีใหม่สงกรานต์นี้ปีหนึ่งลูกหลานจะมารวมกันนำเอาของกินของใช้มาฝากบุพการี
พ่อแม่พี่น้องแล้วเอาน้ำขมิ้นส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ดอกไม้ของกินของใช้ ไปมอบให้เขา เขาก็จะลูบ
ผมดังที่กล่าวมาในตอนต้นลูบหัว 3หนแล้วเขาก็จะเอามือจุ่มแล้วสลัดใส่หัวของลูกหลานทุกคนพร้อม
กับกล่าวอำนวยอวยพร ว่าอยู่ดีมีสุขนะ อยู่ชุ่มเนื้อชุ่มเย็นนะ อยู่ดีสบายให้ได้ร่ำได้รวยนะแล้วแต่เขาจะ
อวยพรให้เพราะฉะนั้น การดำหัวตามที่กล่าวมา นั้น จึงเป็นการดำหัวแบบสระผมธรรมดาเป็นการดำหัว
ตอบแทนคุณพ่อหมออย่างหนึ่งตอบบุญแทน คุณผู้เฒ่า ผู้แก่ พ่อแม่ เป็นการคารวะ ทีนี่มาพูดถึงการ
ดำหัวสำหรับบุพการีดำหัวปีใหม่นี้ที่เรานิยมทำอยู่อย่างนี้เรามีความมุ่งหมายอย่างไรโบราณอาจารย์เจ้า
ทั้งหลายเขาบอกว่า การดำหัวนั้นมันมีความหมายว่าหนึ่ง ไปเพื่อตอบบุญแทนคุณพ่อแม่ที่เขาได้เลี้ยง
ดูเรามาจนเราโตขึ้นมาสามารถทำมาหากินได้มีเหย้ามีเรือนมีงานมีการทำแล้วพ่อแม่อยู่ข้างหลังแก่เฒ่า
แล้วเราก็จะได้ไปเยี่ยมเยียนไปกราบด้วยความสำนึกในบุญคุณอย่างหนึ่งแล้วประการที่สองบางครอบ
ครัวพ่อแม่บางท่านก็ทุกข์ยากลูกหลานไปหาเงินข้างหน้าได้เงินได้ทองมาก็จะซื้อเสื้อผ้าซื้อของกินของ
ว่างมาฝากเขาให้ได้นุ่งได้ถ่ายได้ใส่เสื้อผ้าใหม่ในปีหนึ่ง ก็เป็น วิธีการที่ดีแล้วประการที่สามอีกเป็นการ
ที่ลูกหลานทั้งหลายที่จากบ้าน อื่นเมืองอื่นจากที่ไกลๆที่ตนเองไปหากินอยู่นั้นพาลูกหลานของ ตนไป
กราบไว้บรรพบุรุษไป ไหว้พ่อไหว้แม้แม้กระทั่งไหว้กระดูกพ่อกระดูกแม่เป็นวิธีการที่ดีทำให้ลูกหลาน
ได้รู้จักบุพการีแล้วประการที่สี่นั้นเป็นการรวมพี่รวมน้องลูกนายแก้ว กับลูก นายดำอยู่ห่างกันนายดำอยู่
ลำพูนนายแก้วอยู่เมืองฝาง ต่างคนต่างก็มีลูกแล้วได้พาลูกมารู้จักพี่รู้จักน้องกันได้สืบสานร่วมการร่วม
งานกันแล้วประการต่อไปนั้นคือการสืบมรดกทางวัฒนธรรมพ่อแม่เคย ทำดอกทำดวงทำข้าวตอกดอก
ไม้ ทำธูปทำเทียนทำต้นผึ้งทำอะไรต่าง ๆนี้ของเครื่องใช้ในการเคารพนับถือนี้ลูกหลานก็ จะได้รับการ
ถ่ายถอดทางบรรพบุรุษ ดังนั้นการดำหัวนี้จึงมีหลายนัยยะแห่งการกระทำที่ดีงามอย่างนี้การดำหัวที่ได้
พูดมาเมื่อกี้นั้น ก็ยังมีดำหัวพิเศษต่อไปอีก เช่นดำหัวกู่ กระดูกของบรรพบุรุษนั้นเรียกว่า ดำหัว กู่หลัง
จากนั้นก็มีการดำหัวตุ๊หลวง คือว่าดำหัวสมภารเจ้าอาวาส ดำหัวนายอำเภอพ่อแคว่นพ่อกำนันก็คือการ
ไปดำหัวผู้ที่มีอำนาจ ผู้ปกครอง ผู้ที่มีพระคุณแก่เรา การดำหัวจึงเป็นประเพณีที่ดีงามเมื่อ ไปถึงพร้อม
กันแล้วทักทายปราศรัยกันแล้วก็เอาของเข้าประเคน คือเอาของมอบให้ด้วยการเอาน้ำส้มป่อยมารวมกัน
เข้าไปประเคนวัตถุสิ่งของ ประเคนแล้ว คนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าคนอื่น ก็จะกล่าวว่านำลูกหลาน เขาพากัน
มาขอโทษขอโพยมาดำหัวพ่อแม่หรือผู้หลักผู้ใหญ่ เขาก็จะให้พรโดยมากเป็นพรโวหารยาวเป็นที่ประทับ
ใจเรื่องการดำหัวนี้เป็นวิธีการที่ เฉลียวฉลาดของนักปราชญ์ล้านนาที่ต้องการโน้มน้าวจิตใจของบรรพชน
ไม่เพียงเท่านั้น ยังน้อมจิตใจของอนุชน ก็คือลูกหลานสมัยใหม่นี้ให้เห็นดีเห็นงามมีจริยธรรมอันงดงาม
สืบต่อไปเป็นนิรันดร์การ ดำหัวของล้านนาที่ส่งผลให้พบเห็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นคือการ
แสดงประกอบในขบวนแห่ดำหัวโดยเฉพาะพิธีดำหัวผู้ใหญ่ เช่น พระสงฆ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่่ผู้อาวุโส
หัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆซึ่งขบวนดำหัวเหล่านี้จะมีการแห่ฆ้องกลองมีการฟ้อนพื้นเมืองการแสดงพื้นบ้าน
รวมทั้งการรดน้ำกันอย่างสนุก สนาน ในขบวนนอกจากขบวนแห่ที่แสดงเอกลักษณ์ของชาวล้านนาแล้ว
ยังมีเครื่องดำหัวที่เป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงความสามัคคีของหมู่คณะ เนื่องจากจะเป็นการร่วมมือร่วมใจ
กันจัดทำเครื่องดำหัว  ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นดอก ซึ่งเป็นพุ่มดอกไม้ ที่ประกอบด้วยดอกไม้นานาชนิด
ต้นเทียนที่มีการนำเทียนมาประดับเป็นพุ่มพุ่มขี้ผึ้งที่เรียกว่าต้นผึ้งรวมทั้งหมากสุ่ม คือการนำหมากแห้ง
ผ่าซีกมาประดับเป็นพุ่มอย่างสวยงามและหมากเป็งที่นำหมากดิบเป็นลูก ๆ มาประดับเป็นพุ่มเพื่อจัดใน
เครื่องดำหัว ที่มีเครื่องอุปโภค บริโภค อื่นๆ อีกเช่น น้ำส้มป่อย เครื่องอุปโภคบริโภครวมทั้งผลไม้ตาม
ฤดูกาลโดยนำเครื่องดำ หัวที่จัดเตรียมไว้นี้ใส่ลงในเสลี่ยง ซึ่งชาวล้านนาเรียกว่าจองอ้อยเพื่อช่วยกัน
แบกหามเครื่องดำหัวไปยังที่หมายได้อย่างพร้อมเพรียงกันพิธีกรรมในการดำหัวถือเป็นขนบธรรมเนียม
ประเพณี ที่ บุตรหลานรวม ทั้ง คนรุ่นใหม่นำ ไปยึดถือ และ ปฏิบัติเพื่อเป็นการคารวะ ขอพรให้ตนเอง
ประสบแต่ความ เจริญรุ่งเรืองในการดำเนิน ชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า