ประเพณ๊ดำหัวปีใหม่

ประเพณีตานข้าวใหม่

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณียี่เป็ง

ประเพณีปอยหลวง

 

 


ประเพณีตักบาตรเทโว

 

ความหมาย
วันตักบาตรเทโว  หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออก
พรรษา ตามความเชื่อของพุทธศาสนิชน ว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา

ความเป็นมา
"เทโว" ย่อมาจากคำว่า "เทโวโรหนะ"  ซึ่งแปลว่า   การหยั่งลงจาก
เทวโลก  หมายถึง   การเสด็จลาจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า   ตามตำนาน
กล่าวว่า   เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่
เมืองราชคฤห์  เมืองพาราณสี   เมืองสาวัตถี   ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์   ซึ่ง
เป็นบิตุภูมิของพระองค์   ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วน
หน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองพระคุณมารดา   ซึ่งหลังประสูติพระองค์
ได้  ๗  วัน  ก็สิ้นพระขนม์   และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้น
ดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ ๗ หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไป
จำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธ
มารดาอยู่พรรษาหนึ่ง   ถึงวันแรม  ๑  ค่ำ  เดือน   ๑๑  จึงเสด็จลงจาก
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะประชาชนพากันไปเฝ้า
พระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น
การตักบาตรเทโวนี้   บางวัดทำในวันออกพรรษา  คือวันขึ้น  ๑๕ ค่ำ
เดือน  ๑๑   บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น   คือวันแรม  ๑  ค่ำ  เดือน   ๑๑  ทั้งนี้
แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน
พิธีที่ทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก   ซึ่งตั้ง
อยู่บนล้อเลื่อน มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป   มีคน
ลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ นำหน้าพระสงฆ์   พระภิกษุสามเณรถือบาตรเดิน
ตามไปโดยลำดับ   พุทธศาสนิกชนต่างก็นำอาหารมาเรียงรายกันอยู่เป็น
แถว   ตามแนวทางที่รถบุษบกนั้นจะผ่าน   เพื่อตักบาตร  ของที่นิยมใช้
ตักบาตรในวันนั้น   นอกจากข้าวปลาอาหารธรรมดาแล้วก็มีข้าวต้มมัดใต้
และข้าวต้มลูกโยนเป็นพื้น  บางทีก็อาจจะเป็นข้าวต้มมัดอย่างที่ทำขาย
ทำรับประทานกันอยู่ก็ได้   โดยมากทำกันในบริเวณพระอุโบสถ   แต่บาง
วัดทำในบริเวณวัดก็มี   ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสม
อนึ่ง   การที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่เพียงสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์   ก็เนื่องจากมีพระประสงค์จะให้พระพุทธมารดาได้บรรลุโลกุตร-
ธรรมอันเป็นธรรมชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้