ประเพณ๊ดำหัวปีใหม่

ประเพณีตานข้าวใหม่

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณียี่เป็ง

ประเพณีปอยหลวง

 

 

ประเพณีตานก๋วยสลาก

 

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นสลากเป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระสงฆ์องค์ใดของชาวล้านนา มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง

คำว่าก๋วย แปลว่า ภาชนะสาน ประเภทตะกร้าหรือชะลอม ตานก๋วยสลากจึงหมายถึงการถวายทานด้วยวิธีการจับสลากเครื่องไทยทานที่บรรจุมาในชะลอม โดยการถวายตานก๋วยสลากนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 อย่างด้วยกันคือ อย่างหนึ่งเป็นการอุทิศให้เทพยดาและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และอีกอย่างหนึ่งเป็นการอุทิศไว้ให้ตนเองเมื่อล่วงลับไปในภายหน้า การถวายก๋วยสลากถือกันว่าจะได้อานิสงส์แรง เพราะเป็นการทำบุญแบบสังฆทานผู้ถวายไม่ได้เจาะจงตัวผู้รับว่าจะเป็นพระภิกษุหรือสามเณรรูปใด ๆ

รูปแบบประเพณี

ตานก๋วยสลากอาจแบ่งได้เป็นสามชนิดคือ

1. สลากเฉพาะวัด เรียกว่า สลากน้อย

2. สลากที่นิมนต์พระจากวัดอื่น ๆ มาร่วมพิธีด้วยเรียกว่า สลากหลวง

3. สลากที่ทำเมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเพื่อถวายกุศลแด่พระอินทร์ และเทพยดาต่าง ๆ เป็นการขอฝนเรียกว่าสลากขอฝน หรือสลากพระอินทร์

พิธีกรรมส่วนใหญ่ของตานก๋วยสลากแต่ละชนิดจะคล้ายคลึงกัน มีเพียงรายละเอียด ปลีกย่อยเท่านั้นที่แตกต่างออกไป ในวันดา ซึ่งเป็นวันเตรียมงาน ผู้ชายจะช่วย กัน สานก๋วยไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนฝ่ายหญิงก็จะจัดเตรียมเครื่องไทยทานที่จะบรรจุลงในถ้วย
อาทิ ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม เกลือ อาหาร ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตาม
แต่ศรัทธา ในการเตรียมเครื่องไทยทานนี้มักจะมีญาติมิตรมาขอร่วมทำบุญด้วย
เรียกว่าฮอมครัวนอกจานั้นในแต่ละก๋วยจะมียอดคือ ธนบัตรตามแต่ศรัทธาประดับไว้ด้วย ที่สำคัญก็คือเจ้าของก๋วยจะต้องเขียนชื่อของตนและคำอุทิศไว้ในใบลานหรือกระดาษ
เล็ก ๆ ขนาดกว้าง 12 นิ้ว เรียกว่า เส้นสลาก เมื่อได้เวลาชาวบ้านจะนำเส้นสลากนี้ไป
รวมกัน ไว้แล้วแบ่งถวายพระภิกษุสามเณรไปโดยไม่เจาะจง จากนั้นจึงจะมีผู้ขาน ชื่อในเส้นสลากแต่ละเส้นดัง ๆ เจ้าของก็จะนำเอาก๋วยของตนไปถวายพระภิกษ
ุหรือสามเณร ตามสลากนั้น ๆ พระจะอ่านข้อความในเส้นสลาก และกล่าวอนุโมทนา
เป็นอันเสร็จพิธี

จุดเด่นของพิธีกรรม

เนื่องจากการจัดพิธีตานก๋วยสลากนี้ มีจัดกันในภาคเหนือทั่วไป แต่ละแห่งแต่ละวัดก็จะมีจุดเด่นของพิธีกรรมแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปจุดเด่นที่สุดของพิธีกรรมนี้จะอยู่ที่คัวตานใหญ่ที่จัดเป็นตานกลางถวายแก่วัด ซึ่งอาจจะมีการจัดขบวนแห่คัวตานให้สวยงามเอิกเกริกและยิ่งใหญ่ด้วยขบวนฟ้อนรำต่าง ๆ ด้วย

 

 

 

ส่วนวัดพระธาตุศรีจอมทองฯในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 26 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ก็มีคณะศรัทธาวัด
พระธาตุฯ ต่างก็มาร่วมทำบุญกันถ้วนหน้า ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ต่างก็มาด้วยจิตใจตั้งมั่นในการทำบุญ
ในปีนี้ทางพระสงฆ์ได้กระจายกันไปในบริเวณต่างๆของวัดเพื่อรับถวายสลากพัตรจากคณะศรัทธา
เป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนในบริเวณวิหารหลวงก็มีพี่น้องประชาชนนำสลากพัตรไปรวม
กันถวายแด่องค์พระธาตุเจ้าศรีจอมทองฯ กันจนเต็มวิหาร จวบจนกระทั่งเวลาประมาณ 12.00 น.
จึงเสร็จพิธีการ ได้บุญ กันถ้วนหน้า ....

 

ก๋วยสลากที่นำมาถวายพระพุทธ ในบริเวณวิหารหลวง

 

บรรยากาศรอบๆบริเวณวัด

 

คณะศรัทธาประชาชน ทยอยเดินทางมาร่วมงาน